โครงการ มหกรรมงานวิจัยส่วนภูมิภาค ครั้งที่ 8 ประจำปี 2563
(Regional Research Expo 2020)
ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ ลำรางทุ่งกะโล่ จังหวัดอุตรดิตถ์

1. หลักการและเหตุผล

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ได้เริ่มจัดกิจกรรมการนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ (Thailand Research Expo) ตั้งแต่ปี 2549 เป็นต้นมาโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นเวทีแสดงผลงานวิจัยและกิจกรรมการวิจัยที่มีคุณภาพในเวทีระดับชาติของหน่วยงานเครือข่ายระบบวิจัยทั่วประเทศ ซึ่งประกอบด้วย หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน องค์กรอิสนะ เพื่อมุ่งหวังให้ผลงานวิจัยและกิจกรรมการวิจัยได้เผยแพร่สู่ผู้ใช้ประโยชน์ รวมทั้งเป็นการกระตุ้นให้นักวิจัยในเครือข่ายระบบวิจัยทั่วประเทศ และหน่วยงาน/องค์กรที่เกี่ยวข้อง ได้ผลิตผลงานวิจัยที่มีคุณภาพและนำสู่การใช้ประโยชน์จากงานวิจัยในภูมิภาคต่างๆ มากยิ่งขึ้น วช. โดยข้อเสนอแนะจากผู้บริหารหน่วยงานเครือข่ายในระบบวิจัยทั่วประเทศ จึงได้กำหนดให้มีการจัดงาน “มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ” (Thailand Research Expo) ในภาพรวมซึ่งได้จัดให้มีขึ้นเป็นประจำในทุกๆ ปี ทั้งนี้ การจัดงาน “มหกรรมงานวิจัยส่วนภูมิภาค (Regional Research Expo)” จัดขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2556 ณ ภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยมีมหาวิทยาลัยของแก่นเป็นเจ้าภาพร่วมกับ วช. จัดขึ้นภายใต้แนวคิดหลัก “วิจัยเพื่อการเรียนรู้ สู่การใช้ประโยชน์” และได้เวียนการจัดงานไปยังภูมิภาคต่างๆ ของประเทศ ตามวัตถุประสงค์หลักของการส่งเสริมและสนับสนุนนำผลงานการวิจัยไปสู่การใช้ประโยชน์โดยภาคเหนือจัดขึ้นในปี 2557 โดยมีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่เป็นเจ้าภาพร่วมจัด ภายใต้แนวคิด “วิจัยเพื่อการเรียนรู้สู่การนำใช้ประโยชน์” ในปี 2558 จัดขึ้นในภาคใต้ โดยมีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เป็นเจ้าภาพร่วมจัดภายใต้แนวคิด “วิจัยสร้างความรู้ ถ่ายทอดสู่สังคม” ในปี 2559 จัดขึ้นในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี เป็นเจ้าภาพร่วมจัด ภายใต้แนวคิด “วิจัยเพื่อพัฒนาท้องถิ่น” ในปี 2560 จัดขึ้นในภาคเหนือ โดยมีมหาวิทยาลัยนเรศวร เป็นเจ้าภาพร่วมจัด ภายใต้แนวคิด “CHANGE จากผู้ใช้เป็นผู้ผลิต ด้วยผลงานวิจัยและนวัตกรรม” ในปี 2561 จัดขึ้นในภาคใต้โดยมหาวิทยาลัยทักษิณ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย เป็นเจ้าภาพร่วมจัด ภายใต้แนวคิด “วิจัยและนวัตกรรมปักษ์ใต้สู่การพึ่งพาของสังคม” ในปี 2562 จัดขึ้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ เป็นเจ้าภาพ ภายใต้แนวคิด “งานวิจัยสร้างสรรค์สู่เชิงพาณิชย์”

ในปี 2563 ที่กำลังจะดำเนินการจัดขึ้นที่ภาคเหนือ ซึ่งจัดขึ้นที่จังหวัดอุตรดิตถ์ โดยมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ ร่วมกับจังหวัดอุตรดิตถ์ จะเป็นเจ้าภาพภายใต้แนวคิด “งานวิจัยเพื่อสร้างชุมชนนวัตกรรมและเศรษฐกิจภูมิภาค” เพื่อเป็นกลไกการขับเคลื่อนงานวิจัยเพื่อสร้างชุมชนนวัตกรรมและสร้างเศรษฐกิจภูมิภาคเพื่อการจัดการตนเองได้อย่างยั่งยืนและต่อเนื่องไปยังอนาคตต่อไป

2. วัตถุประสงค์

  • 2.1 เพื่อเป็นเวทีนำเสนอผลงานวิจัยเพื่อสร้างชุมชนนวัตกรรมและเศรษฐกิจภูมิภาค
  • 2.2 เพื่อเป็นเวทีเผยแพร่ผลงานวิจัยและกิจกรรมการวิจัยที่มีคุณภาพในเวทีระดับภูมิภาค
  • 2.3 เพื่อเป็นการสร้างแรงจูงใจให้แก่นักวิจัยเพื่อผลิตผลงานที่สามารถสร้างชุมชนนวัตกรรม และเศรษฐกิจในระดับภูมิภาคนำสู่การเผยแพร่สู่สาธารณะ

3. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

  • 3.1 เกิดการเผยแพร่องค์ความรู้ผลงานวิจัยสร้างชุมชนนวัตกรรมและเศรษฐกิจภูมิภาคสู่สาธารณะ
  • 3.2 ผลงานวิจัยและกิจกรรมการวิจัยได้รับการเผยแพร่สู่สาธารณะและผู้ใช้ประโยชน์โดยตรงในระดับภูมิภาค

4. แนวคิดการจัดงาน

ภาคเหนือเป็นภูมิภาคที่อยู่ด้านบนสุดของไทย มีลักษณะภูมิประเทศอันประกอบไปด้วยเทือกเขา สลับซับซ้อน ต่อเนื่องมาจากทิวเขาฉานโยมาในประเทศพม่าและประเทศลาว ภาคเหนือมีภูมิอากาศ แบบทุ่งหญ้าสะวันนา เหมือนกับพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศ การที่มีพื้นที่อยู่เหนือระดับน้ำทะเลและมีเส้น ละติจูดอยู่ตอนบนทำให้สภาพอากาศของภาคเหนือเปลี่ยนแปลงตามฤดูกาลอย่างเห็นได้ชัด เช่น มีฤดู หนาวที่หนาวเย็นกว่าภูมิภาคอื่น ๆ ทางด้านประวัติศาสตร์ของภาคเหนือมีความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมกับ อาณาจักรล้านนา

รวมทั้งภาคเหนือยังเป็นระเบียงเศรษฐกิจหลวงพระบาง อินโดจีน เมาะลำไย (Luangprabang-lndochina Mawlamyine Economic Corridor: LIMEC) สู่การใช้ประโยชน์ ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการขับเคลื่อนระเบียงเศรษฐกิจโดย LIMEC เป็นการเชื่อมโยงเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้านระหว่างแขวงหลวงพระบาง แขวงไชยบุรี ของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวมายังด่านพรมแดนภูดู่ จังหวัดอุตรดิตถ์ของประเทศไทย และพื้นที่อินโดจีน หรือพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง 1 ซึ่งประกอบไปด้วย 5 จังหวัด ได้แก่ อุตรดิตถ์ พิษณุโลก เพชรบูรณ์ สุโขทัย และตาก โดยจะออกจากประเทศไทย ณ ด่านพรมแดนแม่สอด จังหวัดตาก เข้าสู่สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาที่ด่านเมียวดี รัฐกะเหรี่ยง รัฐมอญ โดยเส้นทางดังกล่าวยังเป็นจุดตัดของแนวระเบียงเศรษฐกิจเหนือใต้ (North-South Economic Corridor) และเส้นทางแนวระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก (East-West Economic Corridor) อีกด้วย ดังนั้นมหกรรมงานวิจัยภูมิภาคประจ ำปี 2563 (Regional Research Expo 2020)" เครือข่ายวิจัยภาคเหนือ จะนำเสนองานวิจัยที่มีความสอดคล้องกับ LIMEC และงานวิจัยที่สร้างชุมชนนวัตกรรมและเศรษฐกิจภูมิภาคเพื่อเป็นกลไกการขับเคลื่อนงานวิจัยเพื่อสร้างชุมชนนวัตกรรมและสร้างเศรษฐกิจภูมิภาคเพื่อการจัดการตนเองได้อย่างยั่งยืนและต่อเนื่องไปยังอนาคตต่อไป

5. ระยะเวลาการดำเนินการ

วันที่/สถานที่จัดงานระหว่างวันที่ 1-2 มีนาคม พศ.2563 ณ อาคารหอประชุมมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ ลำรางทุ่งกะโล่ ตำบลป่าเซ่า อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์

6. กลุ่มเป้าหมายในการดำเนินการ

นักวิจัย นักวิชาการ นักเรียน นักศึกษา หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม ที่สนใจทั่วประเทศ จำนวน 5,000 คน

7. การประเมินผลการจัดงาน

จัดทำแบบประเมินความพึงพอใจ แบ่งเป็น 3 ชุด ประกอบด้วย
  • 1. แบบประเมินความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมประชุม
  • 2. แบบประเมินความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมชมนิทรรศการ
  • 3. แบบประเมินความพึงพอใจของผู้จัดนิทรรศการ
  • 8. การลงทะเบียนร่วมงาน

- สามารถลงทะเบียนร่วมงานได้ตั้งแต่วันที่ 5 – 26 กุมภาพันธ์ 2563 โดยสอบถามรายละเอียดได้ที่ ชั้น 2 สถาบันวิจัยและพัฒนา อาคารเรือนต้นสัก มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ อ.เมือง จ.อุตรดิตถ์ 53000 โทร 055-411096 ต่อ 1693 และ 1642

9. ผู้ประสานงาน

1. อาจารย์ ดร.กิตติ เมืองตุ้ม รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา โทร 088 8344434 อีเมล kittoom@hotmail.com
2. อาจารย์ ดร.รัชดา คำจริง รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา โทร 091 8374808 อีเมล k.ratchada.ae@gmail.com

Copyright@2020 ชั้น 2 สถาบันวิจัยและพัฒนา อาคารเรือนต้นสัก มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ อ.เมือง จ.อุตรดิตถ์ 53000 โทร 055-411096 ต่อ 1693 และ 1642 อีเมล์ researchexpo@uru.ac.th